Pitch Engine

  • Written by Reporters

รายงานประจำปีฉบับนี้พบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปี 2563

 

กรุงเทพมหานคร,ไทย - Media OutReach - 24 กุมภาพันธ์ 2564 - วันนี้ Qualtrics ผู้นำด้านการสร้างประสบการณ์พนักงานและผู้สร้างสรรค์เครื่องมือการบริหารประสบการณ์ หรือ Experience Management (XM) ได้เผยแพร่งานวิจัยชิ้นใหม่ซึ่งพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานในประเทศไทยในปี 2564 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

จากรายงานแนวโน้มประสบการณ์ของพนักงานในปี 2564 พบว่าปัจจัยห้าอันดับแรกที่่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่ผ่านมา โดยความภาคภูมิใจต่อผลงานของทีม การมีกระบวนการทำงานที่ช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมในการตัดสินใจเป็นปัจจัยสามอันดับแรก ขณะที่การทำงานร่วมกันระหว่างทีมอย่างมีประสิทธิภาพ และความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นต่อทีมผู้บริหารเป็นอีกสองปัจจัยที่ส่งผลด้านความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร

 

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความผูกพันที่ไม่รวมอยู่ในห้าอันดับแรก ได้แก่ ความมั่นใจต่อหัวหน้างานระดับสูง โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา การได้รับการยอมรับในผลงาน ความช่วยเหลือจากผู้จัดการเพื่อการพัฒนาทางอาชีพ และการเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างงานและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

 

ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในไทยสูงขึ้นต่อเนื่อง 

 

ในปี 2563 แม้บริษัทต่าง ๆ จะเผชิญกับความท้าทาย แต่ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวมของไทยในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 76% จาก 72% ในปี 2562 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 66% อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจาก 13% ในปีที่ผ่านมา (66% เทียบกับ 53%) ขณะที่ความตั้งใจที่จะอยู่กับองค์กรเป็นเวลาสามปีขึ้นไปก็เพิ่มขึ้นเป็น 56% จาก 43% ในปี 2562

 

สวัสดิการที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสบการณ์โดยรวม ยังคงเป็นสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ และคาดว่าจะเป็นแนวโน้มสำคัญสำหรับองค์กรในปี 2564 ต่อไป ในประเทศไทย พนักงานมากกว่า 7 ใน 10 คน (73%) ให้คะแนนว่าพึงพอใจกับสวัสดิการของตน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 67% ที่น่าสังเกตคือความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรส่งผลต่อเรื่องสวัสดิการโดยรวมมากที่สุด และทำให้ค่าเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 80% เมื่อมีการนำปัจจัยนี้มารวมด้วย

 

Lauren Huntington จากฝ่าย Employee Experience(EX) Solutions Strategy ของ Qualtrics ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "ปี 2563 ทำให้โลกการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เราได้เห็นปัจจัยต่อความผูกพันในปีนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในขณะที่ธุรกิจและรัฐบาลเดินหน้าสู่ปี 2564 เราคาดว่าจะได้เห็นปัจจัยต่อความผูกพันเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเนื่องจากข้อบังคับต่าง ๆ ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้พนักงานได้รับการสนับสนุนและบริการที่พวกเขาต้องการในสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ จึงสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำขององค์กรจะต้องเข้าใจว่าแนวโน้มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานอย่างไร และพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อออกแบบและปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน"

 

รับฟังแล้วลงมือทำ

 

จากการศึกษาของ Qualtrics พบว่า พนักงานมากกว่า 9 ใน 10 คนในประเทศไทย (93%) เชื่อว่าการที่บริษัทรับฟังเสียงของพนักงานนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา 12 เดือนก่อนหน้านี้ พบว่ามีการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนหนึ่งระบุว่าพวกเขามีโอกาสแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้นเป็น 84% (เพิ่มขึ้นจาก 77%) ในปี 2563 อย่างไรก็ตาม มีเพียง 42% ที่กล่าวว่าบริษัทของพวกเขาลงมือดำเนินการตามความเห็นเป็นอย่างดี ซึ่งลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน

 

การได้เห็นนายจ้างจำนวนมากขึ้นรับฟังทีมของพวกเขาเป็นเรื่องที่น่ายินดี ขณะที่การศึกษานี้ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของการทำตามความคิดเห็นของพนักงาน การปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงานนั้นไม่มีวิธีสำเร็จรูปที่ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ธุรกิจสามารถออกแบบประสบการณ์ที่ดีขึ้นได้จากการรับฟังทีมของพวกเขาในทุกช่วงของวงจรการทำงานและในช่วงเวลาสำคัญ ๆ"

 

"ผลทางธรุกิจจากการรับฟังความคิดเห็นและนำมาปฏิบัตินั้นมีมหาศาล เมื่อใดที่องค์กรลงมืออย่างจริงจัง คะแนนจะเพิ่มขึ้นทั้งในด้านความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (90%) สวัสดิการ (88%) และความตั้งใจที่จะอยู่กับบริษัท (91%)" Huntington กล่าว 

 

ดร. บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) กล่าวว่า "การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานกลายเป็นเป้าหมายของเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลที่ได้รับความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่อาจมองข้ามได้ การนำหลัก 'People First' มาใช้ องค์กรจะได้ส่งเสริมให้พนักงานแสดงความคิดเห็น และเตรียมพนักงานให้พร้อมที่จะกล่าวถึงความต้องการของพวกเขาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนเช่นนี้ การทำให้พนักงานมั่นใจว่ามีคนรับฟังพวกเขาและจะมีการดำเนินการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีในสถานที่ทำงาน ยกระดับสวัสดิการ พร้อมทั้งเพิ่มขวัญกำลังใจและผลิตภาพขององค์กร"

 

เกี่ยวกับการศึกษา

 

รายงานแนวโน้มประสบการณ์ของพนักงานในปี 2564 ได้สำรวจพนักงานประจำมากกว่า 11,800 คนใน 20 ประเทศทั่วโลกเพื่อดูว่าประสบการณ์ของพนักงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรในโลกหลังโควิด ผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่า 340 คนมาจากประเทศไทย

 

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดรายงานแนวโน้มประสบการณ์ของพนักงานในปี 2564 ฉบับเต็ม

 

เกี่ยวกับ Qualtrics

Qualtrics เป็นผู้นำด้านการสร้างประสบการณ์และผู้สร้างสรรค์เครื่องมือการบริหารประสบการณ์ หรือ Experience Management (XM) ซึ่งกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ ใช้ในการบริหารและยกระดับ 4 ประสบการณ์หลักของธุรกิจด้วยกัน ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน ผลิตภัณฑ์ และแบรนด์ ปัจจุบัน องค์กรกว่า 12,000 แห่งทั่วโลกต่างวางใจเลือกใช้ Qualtrics เพื่อรับฟัง ทำความเข้าใจ และใช้ข้อมูลประสบการณ์ (X-data™) ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อ อารมณ์ และเจตนา ที่จะบอกคุณว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และจะทำอะไรกับสิ่งนั้นได้บ้าง Qualtrics XM Platform™ คือระบบที่ช่วยให้ธุรกิจดึงดูดลูกค้าไว้ได้นานขึ้นและจับจ่ายมากขึ้น ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำต่อผู้บริโภค สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมที่ qualtrics.com

Source https://www.media-outreach.com/release.php/View/66066#Contact